|
|
|
ตำบลหนองกรดเป็นตำบลดั้งเดิมมิได้แยกจากตำบลอื่นใด ซึ่งเดิมในหมู่บ้านหนองกรด มีลักษณะเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่ และมีต้นกรด ขึ้นอยู่กลางน้ำมีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบ บริเวณหนองน้ำนั้นเป็นจำนวนมากจึงตั้งชื่อว่าบ้านหนองกรด เมื่อมีการประกาศจัดตั้งตำบลจึงได้ชื่อ “ ตำบลหนองกรด ” มาจนถึงปัจจุบันโดยราษฎรส่วนใหญ่มีบ้านเรือนคงทนถาวร และได้รับการประกาศเป็นหมู่บ้านสุขภาพดีถ้วนหน้าทุกหมู่บ้าน |
|
|
|
|
|
ตำบลหนองกรด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองนครสวรรค์ ระยะทางห่างจากอำเภอ ประมาณ 9 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 83,308 ไร่ หรือประมาณ 133.29 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
 |
 |
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.หนองกระโดน อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.บางประมุง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.วัดไทรย์ อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.หนองยาว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ |
|
|
|
    |
|
 |
 |
|
|
|
|
ตำบลหนองกรดอยู่ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งอยู่ในเขตมรสุม เมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมกับได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชั่น และพายุ ใต้ฝุ่น ทำให้เกิดฤดูกาล 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือน มิถุนายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาวเริ่ม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
ตำบลหนองกรด โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง ลักษณะพื้นที่ตำบล
เป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบสูงตามแนวเขา ถนนสายหลักผ่านกลางพื้นที่ของตำบล และห่างจากตัวอำเภอเมืองเพียง 9 ก.ม. จึงเหมาะแก่การขยายตัวของแหล่งอุตสาหกรรม และ ต.หนองกรด ยังมีถ้ำเขาบ่อยา เป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นถ้ำอยู่บนเขา ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 14 บ้าน หินก้อน - วังเลา จากเชิงเขา มีบันไดขึ้นไป สู่ตัวถ้ำ ภายในแบ่งเป็น 3 ช่วงแรกเป็นที่ตั้งพระประธานองค์ใหญ่ ช่วง 2 อยู่ลึกเข้าไปเป็นทางตัน ในบริเวณที่มีบ่อน้ำทิพย์ ซึ่งชาวบ้านถือว่าเป็น |
|
|
บ่อยาศักดิ์สิทธิ์ ช่วง 3 เป็นทางออกสู่ภายนอก ได้อีกทางหนึ่ง ภายในถ้ำยังมีหินย้อยตามธรรมชาติ และในบริเวณใกล้เคียงยังมีแหล่งน้ำวัดศรีอุทุมพร ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมป่าไม้ นอกจากนี้พื้นที่ยังเหมาะแก่การประกอบอาชีพทางการ เกษตร แหล่งน้ำธรรมชาติของตำบลเป็นลำห้วย ลำคลองสายสั้นๆ มีสภาพตื้นเขินและแห้งในฤดูร้อน จึงใช้ประโยชน์เพื่อเกษตรได้น้อย |
|
|
|
|
|

 |
ทำนา |
คิดเป็น ร้อยละ 85 |

 |
ค้าขาย,รับราชการ |
คิดเป็น ร้อยละ 5 |

 |
รับจ้างทั่วไป |
คิดเป็น ร้อยละ 10 |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 12,020 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 5,636 คน |
|

 |
หญิง จำนวน 6,384 คน |
|
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,110 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 90 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านทัพชุมพล |
243 |
307 |
550 |
145 |
|
 |
2 |
|
บ้านเนินประดู่ |
266 |
301 |
567 |
165 |
 |
|
3 |
|
บ้านสันติธรรม |
340 |
375 |
715 |
189 |
|
 |
4 |
|
บ้านดอนวัด |
103 |
452 |
855 |
206 |
 |
|
5 |
|
บ้านหนองปรือ |
488 |
553 |
1,041 |
230 |
|
 |
6 |
|
บ้านดอนใหญ่ |
460 |
535 |
995 |
251 |
 |
|
7 |
|
บ้านหนองเบน |
394 |
407 |
801 |
211 |
|
 |
8 |
|
บ้านหนองโรง |
231 |
272 |
503 |
149 |
 |
|
9 |
|
บ้านศรีอุทุมพร |
362 |
415 |
777 |
241 |
|
 |
10 |
|
บ้านหนองตะโก |
206 |
216 |
422 |
99 |
 |
|
11 |
|
บ้านถนนโค้ง |
678 |
752 |
1,430 |
373 |
|
 |
12 |
|
บ้านหนองเขนง |
247 |
322 |
569 |
140 |
 |
|
13 |
|
บ้านบ่อพยอม |
276 |
304 |
580 |
145 |
|
 |
14 |
|
บ้านหินก้อน-วังเลา |
313 |
312 |
625 |
176 |
 |
|
15 |
|
บ้านผาแดง |
376 |
374 |
750 |
162 |
|
 |
16 |
|
บ้านหนองกระทุ่ม |
157 |
148 |
305 |
90 |
 |
|
17 |
|
บ้านดงสำราญ |
196 |
339 |
535 |
138 |
|
 |
|
|
รวม |
5,636 |
6,384 |
12,020 |
3,110 |
 |
|
|
|